พระพุทธรูปสุโขทัย
ปางมารวิชัยมีรูปลักษณะพระพักตร์ยาวคางหยักสังฆาฏิ เป็นเขี้ยวตะขาบทั้งข้างหน้าและข้างหลัง นิ้วเป็นนิ้วมนุษย์ผิดกับนิ้วพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดพระชินราช ซึ่งมีนิ้วพระหัตถ์เสมอกันทั้ง 5 นิ้วด้านหน้า บนผ้าทิพย์ที่ฐานด้านหน้าประดิษฐานพระนามาภิไธย ส.ธ. ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี ส่วนด้านหลังมีตราสัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมปี พ.ศ. 2567
ขอเชิญร่วมเช่าบูชา พระพุทธรูปทองคำ (รูปหล่อจำลอง)
ยอดบริจาคตั้งแต่ 200,000 บาท ขึ้นไป
ได้รับการจารึกชื่อที่อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี
(ลดหย่อนภาษี 2เท่า)
สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งสุโขทัยโปรดให้หล่อขึ้นเมื่อสร้างเสร็จโปรดให้สร้างพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุขึ้นกลางกรุงสุโขทัย เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปทอง ดังหลักศิลาจารึกปรากฏความว่า 'กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารสมีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม'
ตามประวัติศาสตร์มีข้อสันนิษฐานหลายประการในการเคลื่อนย้ายจากสุโขทัย และถูกพอกปูนทั่วทั้งองค์ แต่ด้วยเหตุอันใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2478 วัดพระยาไกร หรือวัดโชตินาราม กรุงเทพมหานคร ตกสภาพเป็นวัดร้าง ที่ประชุมคณะสงฆ์จึงมอบหมายให้วัดสามจีน ซึ่งต่อมาคือวัดไตรมิตรวิทยาราม ไปอัญเชิญพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยสุโขทัย หนึ่งในมรดกสำคัญของวัดพระยาไกรมาประดิษฐานที่วัด
ต่อมาวัดสามจีนทำการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อจะอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรขึ้นพระวิหาร แต่พยายามยกหลายหนก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ฝนตกตอนใกล้รุ่ง ปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะจนเห็นทองคำด้านใน เมื่อลอกออกหมดจึงเห็นเนื้อทองคำตลอดทั้งองค์ และพบกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกได้เป็น9 ส่วน เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนขึ้นวิหาร จึงได้ถอดออก 4 ส่วน คือ พระศอ พระหัตถ์ทั้ง 2 ข้างพระนาภี สำหรับอีก 5 ส่วนนั้นคงรักษาไว้ให้คนทั้งหลายได้ชมฝีมือช่างสมัยโบราณ กุญแจกลเหล่านี้ผู้หล่อดั้งเดิมได้ใส่ทองคำสำรองมาให้ครบถ้วน รวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรด้วย
ต่อมา พ.ศ. 2535 ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” เมื่อปีพ.ศ. 2552 วัดได้สร้างพระมหามณฑปเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และอัญเชิญ “พระพุทธรูปทองคำ”ขึ้นไปประดิษฐานบนพระมหามณฑปจนถึงทุกวันนี้
ได้รับใบเสร็จรับเงิน สามารถ นำไปลดหย่อนภาษีได้ตาม ประกาศ กระทรวงการคลัง
100 ขึ้นไป
ได้รับเกียรติบัตร
5,000 ขึ้นไป
ได้รับการทำเรื่องขอพระ ราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
100,000 ขึ้นไป
รับบัตรส่วนลด ค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี
200,000 ขึ้นไป
หมายเหตุ : ส่วนลดค่าบริการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่มูลนิธิฯ กำหนด
*ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับส่วนลด หมายถึง ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการโรงพยาบาลทุกประเภท ค่าบริการพยาบาล ค่ายา (ยกเว้นค่ายาเคมีบำบัดและยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ) ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การแพทย์ ค่าตรวจวิเคราะห์โรคทางห้องปฏิบัติการ ค่าตรวจรักษาทางรังสีวิทยา ค่าหัตถการ ค่าผ่าตัด ค่าคลอดบุตร ค่าบริการวิสัญญี ค่าบริการเวชศาสตร์ฟื้นฟู และค่าบริการตรวจรักษาอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในข้อยกเว้น
ค่ารักษาพยาบาลที่ยกเว้น (ไม่ได้รับส่วนลด) ได้แก่ ค่าพยาบาลพิเศษ ค่ายาเคมีบำบัดและยานอกบัญชีหลักแห่งชาติ ค่าเวชภัณฑ์ที่เบิกไม่ได้ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การแพทย์ที่เบิกไม่ได้ตามประกาศกรมบัญชีกลาง ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ค่ารังสีรักษา ค่ารักษาพยาบาลที่ไม่มีบริการในคณะฯ ค่ารักษาพยาบาลที่เบิกไม่ได้ตามประกาศกรมบัญชีกลาง
**บุตร หมายถึง บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้อุปการะที่มีอายุไม่เกิน 20 ปี